หมวดหมู่: พาณิชย์

1aaagE1CLMVT


จุรินทร์ เล็ง! ใช้ศักยภาพกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มรายได้ประชาชน รองรับเศรษฐกิจยุคใหม่ รวมทั้งสู้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

        ในโอกาสที่กระทรวงพาณิชย์จัดอบรมสัมมนาบุคลากรภาครัฐและภาคเอกชนของ CLMVT Adapt to Global Value Chain ซึ่งประกอบไปด้วย ประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางจุดยุทธศาสตร์ของภูมิภาคเอเชีย โดยนายจุร้นทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดวันนี้ ได้กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของภูมิภาค CLMVT ในการเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่คุณค่าสากลใหม่และเป็นภูมิภาคสำคัญที่เชื่อมต่อกับเศรษฐกิจของอาเซียน ทวีปเอเชีย และโลก การจัดงานอบรมสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้น เพื่อเป็นกิจกรรมที่ผู้บริหารและผู้ประกอบการในภูมิภาคได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกันในการผลักดัน “ความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน”

         ด้วยจำนวนประชากรรวมกันกว่า 242 ล้านคน มูลค่า GDP รวมกันได้ 863,859 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 5 ปี (2557 - 2561) ที่ร้อยละ 4.83 ประกอบกับมีการจัดทำข้อตกลงทางการค้า และการลงทุนของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคกับประเทศคู่ค้าสำคัญ ทำให้ภูมิภาค CLMVT มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจอย่างแนบแน่นในเครือข่ายการผลิตของอาเซียนและเอเชีย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าโลกอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และแม้เศรษฐกิจโลกจะมีความผันผวนและไม่แน่นอน แต่ภูมิภาค CLMVT ยังแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพอันเหนียวแน่นเพื่อยืนหยัดและเอาชนะความท้าทายของเศรษฐกิจโลกมาโดยตลอด

      อย่างไรก็ตาม ภูมิภาค CLMVT ยังมีข้อจำกัดด้านผลิตภาพและการสร้างมูลค่า ที่ต้องเผชิญกับกฎระเบียบทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น ทั้งกฎระเบียบในด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค คุณภาพผลิตภัณฑ์ การปกป้องและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมถึงแรงกดดันจากการขยายตัวของเทคโนโลยีสมัยใหม่และดิจิทัล ภูมิภาค CLMVT จึงจำเป็นต้องยกระดับห่วงโซ่คุณค่าของภูมิภาค เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงอยู่ในเครือข่ายการผลิตของโลกได้ต่อไป

     นายจุรินทร์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 5-10 กันยายน ที่ผ่านมาตนได้เป็นประธานที่ประชุมเศรษฐกิจอาเซียน Rcep ASEAN+6 ASEAN+3 จากการประชุม 5 วันนั้นได้ข้อสรุปว่า CLMVT มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็ง ไม่ใช่เฉพาะในภูมิภาค แต่ต้องขยายความร่วมมือและเสริมสร้างความเข้มแข็งไปสู่ภูมิภาคและโลกด้วย  ดังนั้นภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องจับมือไปด้วยกัน เพื่อก้าวสู่การขยายตัวทั้งการค้าการลงทุน โดยเฉพาะการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นหัวใจหลักของการส่งออก หากเราดำเนินการตามนั้นได้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อ CLMVT ไม่ใช่แค่ประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น

       เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการภูมิภาค CLMVT ต้องเร่งปรับปรุงวิธีการผลิตให้ทันสมัยและสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาประสิทธิภาพของภาคบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการขนส่งและส่วนโลจิสติกส์ บริการค้าปลีกและค้าส่ง บริการธุรกิจ และบริการทางการเงิน ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่สำคัญ ดังนั้น กลุ่ม CLMVT จึงควรร่วมมือกันในการกำหนดทิศทางอนาคตของภูมิภาค เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็ง และสานต่อความเชื่อมโยงกับนานาประเทศโดยรอบแบบไร้รอยต่อ เพื่อปรับตัว รองรับเศรษฐกิจยุคใหม่ รวมทั้งความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

 

จุรินทร์ ดันตั้ง กรอ.ชายแดนไทย-สปป.ลาว ขับเคลื่อนการค้า ลงทุน ขนส่ง ท่องเที่ยว

      จุรินทร์ ถกภาครัฐและเอกชนหารือแผนขับเคลื่อนการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว เล็งตั้ง กรอ.ชายแดนไทย-สปป.ลาว ทำหน้าที่แก้ปัญหา ขับเคลื่อนการค้า การลงทุน ขนส่งและท่องเที่ยว เตรียมชง JTC เคาะธ.ค.นี้ พร้อมเสนอมหาดไทย ขยายเวลา Boarding Pass เป็น 7 วันส่งเสริมการค้า ท่องเที่ยว ขอขยายเวลาเปิด-ปิดด่าน เคลียร์คลังปมนำเงินไปลงทุนในสปป.ลาว และหาทางส่งสินค้าทางรถไฟไปเวียงจันทน์

       นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว ว่า ที่ประชุมได้พิจารณามาตรการสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมการค้าชายแดนไทยกับสปป.ลาว โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคเอกชนที่จะให้มีการจัดตั้งกรอ.ชายแดนไทย-สปป.ลาว เพื่อให้มีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาการค้า การลงทุน การขนส่ง รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศรับเป็นเจ้าภาพที่จะนำเรื่องนี้ไปนำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ระหว่างไทย–สปป.ลาวต่อไป ซึ่งจะรีบนัดประชุม JTC ภายในต้นเดือนธ.ค.2562 นี้

     ส่วนการอนุญาตให้ชาวลาวเดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยเดิมอนุญาตให้สามารถใช้ Boarding Pass เดินทางเข้ามาในไทยได้ 2 วัน 3 คืน และขอขยายขึ้นเป็น 7 วัน เพื่อส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยว ที่ประชุมได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงมหาดไทยให้ดำเนินการจัดการประชุมคณะกรรมการไทย-สปป.ลาว ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน เพื่อหารือเรื่องนี้

       สำหรับ กรณีที่ภาคเอกชนขอให้มีความชัดเจนในการนำเงินบาทไปลงทุนในสปป.ลาว ซึ่งเดิมกำหนดไว้ว่าเงิน 4.5 แสนถึง 2 ล้านบาท ต้องแจ้งต่อกรมศุลกากร แต่ขณะนี้เกิดปัญหาความเข้าใจไม่ตรงกันในแต่ละด่าน จึงมอบหมายให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ทำหนังสือไปถึงปลัดกระทรวงการคลังให้ดำเนินการไปในแนวทางเดียวกัน

       นายจุรินทร์กล่าวว่า เรื่องการขอขยายเวลาเปิด-ปิดด่าน สำหรับสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว ที่ จ.หนองคาย และจ.มุกดาหาร เดิม 06.00-22.00 น. ขอขยายเวลาเป็น 05.00-24.00 น. ด่านช่องเม็ก จ.อุบลราชธานี เดิม 06.00-20.00 น. ขอขยายเป็น 05.00-22.00 น. ด่านท่าลี่ จ.เลย เดิม 07.00-18.00 น. ขอขยายเป็น 07.00-20.00 น. ซึ่งเป็นอำนาจของกระทรวงมหาดไทย ที่ประชุมจึงมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ประสานไปยังปลัดกระทรวงมหาดไทยเพื่อพิจารณาในเรื่องนี้

        ด้านการขออนุมัติเอกสารฟอร์ม D (เอกสารรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อการส่งออก) เอกชนเสนอขอให้มีความสามารถในการรับรองเอกสารส่งออกด้วยตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้ในที่ประชุมอาเซียนกำหนดให้ดำเนินการภายในมี.ค.2563 ซึ่งกรณีที่เอกชนขอให้มีการอนุมัติเอกสารฟอร์ม D ไทย-สปป.ลาว ทางสปป.ลาวขอให้มีการอนุมัติที่จุดชายแดน โดยไม่ต้องส่งไปที่เวียงจันทน์ รัฐมนตรีจากประเทศลาวได้แจ้งในที่ประชุมอาเซียนว่า สปป.ลาวจะสามารถอนุมัติเอกสารฟอร์ม D ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในสิ้นปีนี้ เพื่ออำนวยการส่งสินค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว

         ขณะที่การขอให้บุคลากรของสปป.ลาว สามารถเข้ามาฝึกงานในไทยได้ไม่เกิน 3 เดือน โดยไม่ต้องทำ Work Permit จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการการค้าชายแดน และจะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพิจารณา ส่วนการขอให้มีการอนุมัติการนำรถยนต์ส่วนบุคคลของจีนและเวียดนามเข้ามาในชายแดนไทยโดยไม่ต้องขออนุมัติล่วงหน้า 7–15 วัน ได้ขอให้กรมการขนส่งจังหวัดเป็นผู้พิจารณา ซึ่งในแง่เศรษฐกิจ ถือว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว และหากทำได้ก็จะเริ่มในปลายเดือนพ.ย.2562 และกรณีที่ขอให้มีการเพิ่มช่องทางการขนส่งสินค้าทางรถไฟ จากจังหวัดหนองคายไปเวียงจันทน์ ที่แต่เดิมไม่สามารถขนสินค้าได้ หากมีการพิจารณาให้สามารถทำได้ จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นการส่งเสริมการค้าระหว่าง 2 ประเทศได้มากขึ้นถึง 67.5%

         รายงานข่าวแจ้งว่า การค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว ช่วง 7 เดือนของปี 2562 (ม.ค.-กค.) รวมกว่า 117,116.86 ล้านบาท เป็นการส่งออก 70,228.43 ล้านบาท นำเข้า 46,888.43 ล้านบาท โดยไทยได้ดุลการค้า 23,340 ล้านบาท และการค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว คิดเป็น 18% ของการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยสินค้าส่งออกของไทยที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล รถยนต์ อุปกรณ์ สินค้าปศุสัตว์ น้ำมันสำเร็จรูป และสินค้าอุตสาหกรรม และด่านสำคัญได้แก่ ด่านศุลกากรหนองคาย มีมูลค่าการค้ารวม 35,162 กว่าล้านบาท รองลงมา คือ ด่านศุลกากรมุกดาหาร ด่านศุลกากรทุ่งช้างด่านศุลกากรช่องเม็ก และด่านศุลกากรนครพนม 

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

 

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!