หมวดหมู่: การศึกษา

1aaaaGict


เปิดค่าย ‘Thailand ICT Youth Challenge 2018 ปี 5' และครั้งแรกของโครงการ 'DigiEng Teacher Challenge 2018'สำหรับครูยุคใหม่จุดประกายเยาวชนและครู เพื่อพัฒนาทักษะการใช้สื่อดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์

    เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นเวลา 3 วัน 2 คืน ได้มีการจัดกิจกรรมเข้าค่ายโครงการ 'Thailand ICT Youth Challenge 2018 ปี 5'โดยมีน้องๆ ที่เข้ารอบกว่า 200 คนจากทั่วประเทศ ทั้งจากระดับประถมปลาย มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เดินทางมาเรียนรู้ทักษะดิจิทัล ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ และถ่ายทอดออกมาเป็นดิจิทัล คอนเทนต์ (Digital Content) เพื่อนำไปสร้างสรรค์ประชันไอเดียในเวทีชิงชนะเลิศต่อไป พร้อมกันนี้ได้เปิดค่ายอบรมครูเป็นครั้งแรก กับโครงการประกวด’DigiEng Teacher Challenge 2018 ที่มุ่งหวังให้ครูใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีร่วมกับภาษาอังกฤษ ในการสร้างสื่อการเรียนการสอนทุกสาระวิชา พัฒนาตนเองและสื่อการสอนต่อไป จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อ.ปากเกร็ด จ.กรุงเทพฯ

       ทั้งสองโครงการดังกล่าวจัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ (MOE) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC) และ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) สำหรับโครงการ “Thailand ICT Youth Challenge 2018 ปี 5” จัดขึ้นภายใต้โจทย์จากองค์กรและแบรนด์ชั้นนำ โดยในปีนี้ยังมีโครงการจัดการประกวดแผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ขึ้น ทุกรายวิชาและทุกชั้นปี ภายใต้ชื่อโครงการประกวด DigiEng Teacher Challenge 2018 โดยให้ครูใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีร่วมกับภาษาอังกฤษในการสร้างสื่อการเรียนการสอนทุกสาระวิชา การใช้สื่อไอซีทีบวกกับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อการสนับสนุนการเรียนการสอนในรูปแบบ Project-Based Learning โดยมีคอนเทนต์จากแบรนด์หรือองค์กรต่างๆ นำมาสร้างสรรค์ผ่านสื่อดิจิทัล โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้จากการใช้สื่อ ตลอดจนมีความต่อเนื่องในการเรียนรู้จากสื่อซีทีอื่น ๆ ในโรงเรียน

      ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า พันธกิจหลักของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งเน้นส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ครอบคลุมทั้งตลาดฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์อัจฉริยะ ซอฟต์แวร์ บริการดิจิทัล ตลอดจนนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม การขยายตัวด้านการลงทุนในดิจิทัล ย่อมต้องเกิดจากบุคลากรหรือทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ ทักษะด้านดิจิทัลให้สอดรับกับตลาดในปัจจุบันทั้งในและต่างประเทศ การพัฒนากำลังคนในกลุ่มเยาวชนและครูผู้สอนจะเป็นพื้นฐานในการผลิตกำลังบุคลากรได้อย่างดีเยี่ยม โครงการ Thailand ICT Youth Challenge และ DigiEng Teacher Challenge จึงตอบโจทย์และเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชนคนรุ่นใหม่ ร่วมกับ ครูอาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาทักษะการใช้สื่อดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ และสามารถนำทักษะ ความรู้ ความชำนาญ จากโครงการนี้ไปบูรณาการองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้างต่อไป

     นายสมเกียรติ สรรคพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้นำแนวคิดการพัฒนาผู้เรียนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลมาปฏิบัติ เพื่อให้ตอบสนองต่อการทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่าสาขาอาชีพใดก็ล้วนต้องเกี่ยวข้องกับการใช้ทักษะดิจิทัลไม่มากก็น้อย นอกจากนี้ สิ่งสำคัญย่อมต้องพัฒนาที่บุคลากรที่เป็นผู้สอน ทั้งผู้บริหารการศึกษา ผู้จัดการเรียนการสอน ให้ก้าวทันต่อความต้องการของตลาด การสอนผ่านการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ เป็นเครื่องมือที่ล้วนช่วยให้เข้าถึงองค์ความรู้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น สำหรับ 2 โครงการดังกล่าวนี้ ถือเป็นอีกเวที ที่จะเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่สะท้อนให้เห็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงกระบวนความคิดใหม่ที่สอดคล้องกับหลักสูตร และที่สำคัญต้องสร้างให้เกิดความตระหนัก ส่งเสริมในเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และโซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา และปฏิรูปการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21

      นายดิลก คุณะดิลก กรรมการสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย กล่าวว่า สำหรับ โครงการ Thailand ICT Youth Challenge ในปีนี้มีความพิเศษด้วยการเพิ่ม โครงการ DigiEng Teacher Challenge’ สำหรับครูผู้สอน เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนให้สามารถสร้างสื่อด้วยดิจิทัลเทคโนโลยีร่วมกับภาษาอังกฤษที่เหมาะสม กระตุ้น จูงใจ ให้ครูทั่วประเทศสร้างสรรค์แผนการจัดการเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ในการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบัน ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติอันจะนำไปสู่การปรับปรุงแนวทางการใช้ไอซีทีให้เกิดการพัฒนาขึ้นไป และให้ผู้ผ่านเกณฑ์การประกวด ได้ปรับปรุงผลงาน เพื่อรวบรวมเป็นตัวอย่างสำหรับเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป

     ดร.ประยูร หรั่งทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การบูรณาการเทคโนโลยีกับการเรียนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูในยุคปัจจุบัน การเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้ตนเอง การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ย่อมถ่ายทอดไปสู่ผู้เรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอนช่วยแก้ปัญหาในชั้นเรียน ลดภาระงานครู สร้างความน่าสนใจต่อการรับสาร สพฐ. พร้อมสนองนโยบายกระทรวงฯ และรัฐบาล เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันและให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โครงการในปีนี้ ทำให้ผู้ร่วมโครงการได้ฝึกปฏิบัติจริงเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้จริง และเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับบุคลากรและให้สอดรับกับแนวทางการบริหารจัดการศึกษารูปแบบใหม่ ตอบสนองความต้องการในยุคเทคโนโลยีดิจิทัลที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต

     ด้านตัวแทนทีมเยาวชนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าค่ายในครั้งนี้ คิม-นายนันทกรานต์ สีพุด และบอส-นายศุภชัย แก้วจุ้ย ชั้นม.5 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดลพบุรี เล่าว่า “เป็นครั้งแรกที่ร่วมโครงการนี้ แรงบันดาลใจมาจากรุ่นพี่ที่ได้รางวัลชนะเลิศเมื่อปีที่แล้ว จึงสนใจอยากร่วมเพราะอยากพัฒนาตัวเองจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับดิจิทัลและการทำแอปพลิเคชันในชั่วโมงเรียน จึงอยากลงสนามแข่งขันเพื่อฝึกฝีมือและหาประสบการณ์ แต่ก็คาดหวังอย่างมากที่จะได้เข้ารอบลึกๆ ทีมได้โจทย์หัวข้อจากดีแทคเกี่ยวกับเรื่องการรวมกลุ่มสารสนเทศ เป็นหัวข้อที่น่าสนใจเพราะสามารถพัฒนาต่อไปได้เรื่อยๆ

    จึงเริ่มนำหัวข้อนี้ไปทำเป็นแอปพลิเคชันออกมา โจทย์ในปีนี้ถือว่าค่อนข้างยากแต่จะพยายามทำให้ดีที่สุด แนวคิดที่คิดไว้จะทำเกี่ยวกับฟังก์ชั่นหลายๆ ฟังก์ชั่นที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันก็ทำมาพอสังเขป พอเข้ารอบมาก็จะนำสิ่งที่ทำไปแล้วไปพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ อยากฝากว่าสมัยนี้ดิจิทัลครอบคลุมทุกเรื่อง เราอยากให้ทุกคนที่ใช้แอปพลิเคชันจะสามารถใช้ได้อย่างทั่วถึงและรู้เท่าทัน ไม่ใช่แค่ไว้เล่นอย่างเดียว แต่ควรได้รับความรู้จากมันด้วย

    ด้าน นางกมลชนก หมื่นสอน ครูสอนคอมพิวเตอร์ โรงเรียนบ้านต้นโชค อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ ตัวแทนครูจากโครงการ ‘DigiEng Teacher Challenge 2018 กล่าวว่า โครงการ Thailand ICT Youth Challenge ทำให้เด็กได้แสดงความสามารถของตัวเอง การได้มาร่วมค่ายจะทำให้เขาได้รับความสนุกและนำความรู้กลับไปพัฒนาฝีมือ สำหรับตนเองเคยคิดว่าสอนเด็กดีแล้วแต่เมื่อมาเข้าค่ายนี้ก็รู้ทันทีว่าตนอ่อนมาก ก็จะได้นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อ หลายปีก่อนเคยนำเด็กจากโรงเรียนเดิมที่เคยสอนมาสัมผัสค่ายนี้ทุกปีและบางปีได้ผ่านทั้งเข้ารอบ 5 ทีมสุดท้ายและได้รางวัลที่ 4 กลับมา

     ต่อมาเมื่อย้ายมาสอนที่โรงเรียนแห่งนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ จึงได้ชักชวนให้เด็กมาร่วมโครงการนี้ เพื่อเขาจะได้เล็งเห็นถึงความสามารถของตัวเอง ไม่ดูถูกตัวเองและได้มาเปิดประสบการณ์แปลกใหม่ รู้จักเพื่อนมากขึ้น แต่ไม่ได้คาดหวังว่าจะได้รางวัล แค่เด็กมาถึงจุดนี้ก็ถือว่าดีที่สุดแล้ว ส่วน โครงการ DigiEng Teacher Challenge ปีนี้ได้เปิดขึ้นเป็นปีแรก ประโยชน์คือจะได้นำไปสอนเด็กต่อได้ ปกติจะใช้สื่อประเภทโปรแกรมพาวเวอร์พอยต์หรือแอปพลิเคชัน ก็ได้ทราบเพิ่มเติมเรื่องการพัฒนาสื่อ ว่าจะพัฒนาสื่ออย่างไรให้ดูน่าสนใจ จะลงสู่เด็กอย่างไร นำไปสอนเด็กอย่างไรและเด็กจะได้อะไรกลับมา ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากที่จะได้พัฒนาความรู้ของเรา และจะได้ต่อยอดความรู้ที่เรามี เพราะปัจจุบันเด็กส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องการอ่าน การเขียน โดยจะพัฒนาสื่อนี้เพื่อช่วยให้พวกเขาได้อ่านเขียนคล่องมากขึ้น

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!